เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย พิมพ์นิยม ปี พ.ศ. 2482
สุดยอดของเหรียญแห่งพระสุปฏิปันโนแห่งแดนดินถิ่นเหนือ ที่ควรคู่กับพระกรุของชุดสกุลลำพูนอันเกริกไกรนั้นคงจะหนีไปไม่พ้น “เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย” นักบุญแห่งลานนาไทย ของปี พ.ศ. 2482 ไปได้ ความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงของเหรียญรุ่นนี้เป็นที่รู้ และทราบกันไปทั่วทั้งประเทศไทยมานานแสนนานแล้ว ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญหายากเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งหลายทั้งปวง และได้มีเหรียญรุ่นใหม่สร้างตามกันมาอีกหลายรุ่น ทั้งได้มีการทำปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกขายให้ชาวบ้านหรือผู้คนที่ต้องการและไม่รู้เรื่องกันก็มากหลาย ในหนังสือเล่มนี้จะได้นำเสนอเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่เป็นเหรียญยอดนิยมและเป็นเหรียญที่หายากมาให้ท่านได้ชมกัน พร้อมกับคำอธิบายถึงสภาพของเหรียญนั้นๆว่าเป็นอย่างไร.
ครูบาเจ้าศรีวิไชยเกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ณหมู่บ้านเล็กๆที่มีชื่อเรียกกันว่า “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวคือ ริดสีดวงทวารเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 รวมสิริอายุของท่าน 60 ปี 9เดือน 11 วัน. ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดบ้านปาง เป็นเวลา 3 ปีจึงได้เคลื่อนศพไปยังวัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีการประกอบพิธี พระราชทานเพลิงศพ ที่วัดจามเทวีนี้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 ในการพระราชทานเพลิงศพในครั้งนี้นั้น ทางคณะกรรมการได้ทำเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย ออกมา เพื่อตอบแทนแก่บรรดาผู้คนที่เคารพนับถือท่านครูบาเจ้าศรีวิไชยและได้ร่วมถวายปัจจัยทำบุญแก่ท่านไว้เป็นที่ระลึก เหรียญดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วย
1. เหรียญสำหรับแจกกรรมการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดพิธีกรรมในงานศพ ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือรูปหยดน้ำ มีทั้งเหรียญทองลงยา เหรียญเงินลงยา มีอยู่สองแบบด้วยกันคือแบบหน้าแก่ไม่ฉลุลายและแบบหน้าหนุ่มฉลุลาย ซึ่งจะได้นำมาแสดงให้ท่านได้เห็นกันต่อไป.
2. เหรียญลักษณะรูปไข่ เหรียญรูปไข่นี้ สร้างด้วย”ทองจังโกฏิ์ “ ที่เคยหุ้มรอบๆองค์พระธาตุเจ้าหริภุญไชยมาก่อน ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนออก เนื่องจากมีความเก่าแก่และเกิดการชำรุดเสียหาย และได้ทำการหุ้มใหม่ ทองจังโกฏิ์ที่เก่าแก่และชำรุดนั้น ทาง”เจ้าหลวงจักคำขจรศักดิ์ “เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แล้วนำเอาทองจังโกฏิ์ที่ชำรุดแต่เดิมไปทำการไล่เอาเนื้อทองคำที่มีอยู่ในแผ่นทองจังโกฏิ์รุ่นดั้งเดิมนี้ออก ได้เนื้อทองคำออกมาจำนวนหนึ่งนำไปขาย จากนั้นนำเงินรายได้จาการขายทองคำนี้ ไปทำการซื้อที่ดินบริเวณมุมถนนอินทยงยศ กับถนนวังขวา ทางด้านทิศเหนือของตลาดพิกุลแก้ว อำเภอเมืองลำพูนปัจจุบัน แล้วทำการสร้างห้องแถวสองชั้นเป็นเรือนไม้ขึ้นมาให้ชาวบ้านร้านค้าเช่าอาศัยให้ เป็นรายได้ขึ้นมา และทำการมอบถวายให้แก่วัดพระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชย เพื่อนำเงินค่าเช่านั้นๆเป็นค่าจตุปัจจัยในการใช้จ่าย ค่าน้ำค่าไฟบำรุงและวัดพระบรมธาตุต่อไป ภายหลังได้รื้อเรือนไม้สองชั้นนั้นออกแล้วสร้างเป็นตึกแถวดังที่เห็นกัน ตราบจนถึงทุกวันนี้
เมื่อองค์ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้อาพาธและเสียชีวิตลง ทางจังหวัดลำพูนจึงได้นำ”ทองจังโกฏิ์”ที่เหลือจากการไล่เอาเนื้อทองคำออก ไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างเหรียญครูบาที่มีลักษณะเป็นรูปไข่ เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาร่วมทำบุญในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน โดยได้ทำเหรียญออกมาเป็นสองพิมพ์ คือพิมพ์ชายจีวรที่พาดอยู่ตรงแขนซ้ายเป็นแบบสองชาย และพิมพ์สามชาย นอกจากนี้ยังได้ทำเหรียญเนื้อเงินขึ้นมาอีกต่างหากอีกเนื้อหนึ่งด้วย เท่าที่ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ก็คือ ส่วนใหญ่ของเนื้อเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่เป็นเนื้อทองจังโกฏิ์นั้น จะมีความแตกต่างกันของสีสันและเนื้อเหรียญอย่างเห็นได้ชัด บางเหรียญนั้นจะเป็นเนื้อที่มีทองคำผสมอยู่จะมีความวาววามอย่างน่าดูและน่าสนใจยิ่ง บางเหรียญจะเป็นดั่งเนื้อนากและเหมือนกับเนื้อทองคำผสมก็มี ซึ่งก็เป็นเพราะทองจังโกฏิ์ที่ใช้หุ้มองค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชยนั้นเป็นแหล่งรวมของเนื้อโลหะหลายชนิดนั่นเอง ไม่ได้เป็นเหรียญที่ทำจากฝาบาตรตามที่ว่ากันไว้แต่อย่างใด สำหรับเหรียญเงินนั้นไม่มีปัญหาอะไรเพราะสร้างขึ้นจากเนื้อเงินต่างหากจากเนื้อทองจังโกฏ์ดังกล่าว
เหรียญครูบาปีพ.ศ. 2482 นี้แกะพิมพ์และปั้มเหรียญที่ ร้านอัมราภรณ์ ตึกดิน กรุงเทพฯ เข้าทำพิธีพุทธาภิเษกโดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2481. จากนั้นจึงได้ส่งกลับมายังเมืองลำพูนเพื่อดำเนินการในงานบุญครั้งใหญ่ต่อไป มีเหรียญครูบาที่สำคัญอีกสองแบบที่จะนำมากล่าวในที่นี้ก็คือ
1. “เหรียญพิมพ์บัวสิบเอ็ดดอก “หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เหรียญสร้าง”สะพาน ศรีวิไชย “ เป็นสะพานที่เชื่อมต่อจากตำบลบ้านสันริมปิง อำเภอเมืองลำพูน ข้ามแม่น้ำปิงไปยังหมู่บ้านหนองตอง อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบให้แก่สาธุชนผู้ที่ร่วมทำบุญสมทบทุนในการสร้างสะพานในครั้งนี้ เป็นอีกเหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากเหรียญรูปไข่ปี พ.ศ. 2482
2 . “เหรียญพญานาค” ที่มีองค์ครูบาเจ้าศรีวิไชยประทับนั่งปางขัดสมาธิราบ บนฐานประทับเป็นตั่งขาสิงห์กลางเหรียญ ประดับลวดลาย เป็นพญานาคสองตัว ชูหัวขึ้นออกทางด้านข้างสองข้างโดยส่วนตัวและหาง ทำเป็นซุ้มประดับ ขึ้นไปด้านบน เหรียญรุ่นนี้สร้างโดยวัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุมงคลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ พระรูปเหมือนของครูบาเจ้าศรีวิไชยเนื้อดินผสมเถ้าอัฐิของท่าน ที่ครูบาทึม พระลูกวัดจามเทวี ผู้มีฝีมือในการปั้นพระเนื้อดินต่างๆ ท่านได้รวบรวมเก็บเถ้าอัฐิในบริเวณสถานที่ที่ทำการฌาปนกิจศพของท่านครูบาเอาไว้ และต่อมาได้ทำการสร้างพระรูปหมือนครูบาเนื้อดินเผาผสมเถ้าอัฐิครูบาเจ้าศรีวิไชย เรียกว่า”ครูบาหลังย่น” ออกมาแจกจ่ายผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวท่าน จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่ว ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ จนเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหากันมาจนทุกวันนี้ ในบริเวณที่ดินที่ใช้เป็นที่ฌาปนกิจศพของท่านครูบา ในบริเวณของวัดจามเทวีนั้น ต่อมา ทางคณะกรรมจังหวัดและทางวัดจามเทวีลำพูนได้สร้างเป็นสถูป “อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิไชย” บรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้เพื่อให้บรรดาสาธุชนได้กราบไหว้สักการะบูชาตราบจนถึงทุกวันนี้ .
ต่อจากนี้ไปจะให้ท่านได้ชม เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่หายาก เป็นเหรียญดังอันมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของนักสะสมในปัจจุบัน
สุดยอดของเหรียญแห่งพระสุปฏิปันโนแห่งแดนดินถิ่นเหนือ ที่ควรคู่กับพระกรุของชุดสกุลลำพูนอันเกริกไกรนั้นคงจะหนีไปไม่พ้น “เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย” นักบุญแห่งลานนาไทย ของปี พ.ศ. 2482 ไปได้ ความศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงของเหรียญรุ่นนี้เป็นที่รู้ และทราบกันไปทั่วทั้งประเทศไทยมานานแสนนานแล้ว ปัจจุบันเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญหายากเป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งหลายทั้งปวง และได้มีเหรียญรุ่นใหม่สร้างตามกันมาอีกหลายรุ่น ทั้งได้มีการทำปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกขายให้ชาวบ้านหรือผู้คนที่ต้องการและไม่รู้เรื่องกันก็มากหลาย ในหนังสือเล่มนี้จะได้นำเสนอเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่เป็นเหรียญยอดนิยมและเป็นเหรียญที่หายากมาให้ท่านได้ชมกัน พร้อมกับคำอธิบายถึงสภาพของเหรียญนั้นๆว่าเป็นอย่างไร.
ครูบาเจ้าศรีวิไชยเกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ณหมู่บ้านเล็กๆที่มีชื่อเรียกกันว่า “บ้านปาง” ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเสียชีวิตด้วยโรคประจำตัวคือ ริดสีดวงทวารเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 รวมสิริอายุของท่าน 60 ปี 9เดือน 11 วัน. ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ วัดบ้านปาง เป็นเวลา 3 ปีจึงได้เคลื่อนศพไปยังวัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีการประกอบพิธี พระราชทานเพลิงศพ ที่วัดจามเทวีนี้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 ในการพระราชทานเพลิงศพในครั้งนี้นั้น ทางคณะกรรมการได้ทำเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชย ออกมา เพื่อตอบแทนแก่บรรดาผู้คนที่เคารพนับถือท่านครูบาเจ้าศรีวิไชยและได้ร่วมถวายปัจจัยทำบุญแก่ท่านไว้เป็นที่ระลึก เหรียญดังกล่าวนั้นประกอบไปด้วย
1. เหรียญสำหรับแจกกรรมการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดพิธีกรรมในงานศพ ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือรูปหยดน้ำ มีทั้งเหรียญทองลงยา เหรียญเงินลงยา มีอยู่สองแบบด้วยกันคือแบบหน้าแก่ไม่ฉลุลายและแบบหน้าหนุ่มฉลุลาย ซึ่งจะได้นำมาแสดงให้ท่านได้เห็นกันต่อไป.
2. เหรียญลักษณะรูปไข่ เหรียญรูปไข่นี้ สร้างด้วย”ทองจังโกฏิ์ “ ที่เคยหุ้มรอบๆองค์พระธาตุเจ้าหริภุญไชยมาก่อน ซึ่งได้ถูกเปลี่ยนออก เนื่องจากมีความเก่าแก่และเกิดการชำรุดเสียหาย และได้ทำการหุ้มใหม่ ทองจังโกฏิ์ที่เก่าแก่และชำรุดนั้น ทาง”เจ้าหลวงจักคำขจรศักดิ์ “เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา แล้วนำเอาทองจังโกฏิ์ที่ชำรุดแต่เดิมไปทำการไล่เอาเนื้อทองคำที่มีอยู่ในแผ่นทองจังโกฏิ์รุ่นดั้งเดิมนี้ออก ได้เนื้อทองคำออกมาจำนวนหนึ่งนำไปขาย จากนั้นนำเงินรายได้จาการขายทองคำนี้ ไปทำการซื้อที่ดินบริเวณมุมถนนอินทยงยศ กับถนนวังขวา ทางด้านทิศเหนือของตลาดพิกุลแก้ว อำเภอเมืองลำพูนปัจจุบัน แล้วทำการสร้างห้องแถวสองชั้นเป็นเรือนไม้ขึ้นมาให้ชาวบ้านร้านค้าเช่าอาศัยให้ เป็นรายได้ขึ้นมา และทำการมอบถวายให้แก่วัดพระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชย เพื่อนำเงินค่าเช่านั้นๆเป็นค่าจตุปัจจัยในการใช้จ่าย ค่าน้ำค่าไฟบำรุงและวัดพระบรมธาตุต่อไป ภายหลังได้รื้อเรือนไม้สองชั้นนั้นออกแล้วสร้างเป็นตึกแถวดังที่เห็นกัน ตราบจนถึงทุกวันนี้
เมื่อองค์ครูบาเจ้าศรีวิไชยได้อาพาธและเสียชีวิตลง ทางจังหวัดลำพูนจึงได้นำ”ทองจังโกฏิ์”ที่เหลือจากการไล่เอาเนื้อทองคำออก ไปเป็นวัตถุดิบในการสร้างเหรียญครูบาที่มีลักษณะเป็นรูปไข่ เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาร่วมทำบุญในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน โดยได้ทำเหรียญออกมาเป็นสองพิมพ์ คือพิมพ์ชายจีวรที่พาดอยู่ตรงแขนซ้ายเป็นแบบสองชาย และพิมพ์สามชาย นอกจากนี้ยังได้ทำเหรียญเนื้อเงินขึ้นมาอีกต่างหากอีกเนื้อหนึ่งด้วย เท่าที่ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตไว้ก็คือ ส่วนใหญ่ของเนื้อเหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่เป็นเนื้อทองจังโกฏิ์นั้น จะมีความแตกต่างกันของสีสันและเนื้อเหรียญอย่างเห็นได้ชัด บางเหรียญนั้นจะเป็นเนื้อที่มีทองคำผสมอยู่จะมีความวาววามอย่างน่าดูและน่าสนใจยิ่ง บางเหรียญจะเป็นดั่งเนื้อนากและเหมือนกับเนื้อทองคำผสมก็มี ซึ่งก็เป็นเพราะทองจังโกฏิ์ที่ใช้หุ้มองค์พระบรมธาตุเจ้าหริภุญไชยนั้นเป็นแหล่งรวมของเนื้อโลหะหลายชนิดนั่นเอง ไม่ได้เป็นเหรียญที่ทำจากฝาบาตรตามที่ว่ากันไว้แต่อย่างใด สำหรับเหรียญเงินนั้นไม่มีปัญหาอะไรเพราะสร้างขึ้นจากเนื้อเงินต่างหากจากเนื้อทองจังโกฏ์ดังกล่าว
เหรียญครูบาปีพ.ศ. 2482 นี้แกะพิมพ์และปั้มเหรียญที่ ร้านอัมราภรณ์ ตึกดิน กรุงเทพฯ เข้าทำพิธีพุทธาภิเษกโดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ทรงเป็นองค์ประธาน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2481. จากนั้นจึงได้ส่งกลับมายังเมืองลำพูนเพื่อดำเนินการในงานบุญครั้งใหญ่ต่อไป มีเหรียญครูบาที่สำคัญอีกสองแบบที่จะนำมากล่าวในที่นี้ก็คือ
1. “เหรียญพิมพ์บัวสิบเอ็ดดอก “หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เหรียญสร้าง”สะพาน ศรีวิไชย “ เป็นสะพานที่เชื่อมต่อจากตำบลบ้านสันริมปิง อำเภอเมืองลำพูน ข้ามแม่น้ำปิงไปยังหมู่บ้านหนองตอง อำเภอสันป่าตองจังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบให้แก่สาธุชนผู้ที่ร่วมทำบุญสมทบทุนในการสร้างสะพานในครั้งนี้ เป็นอีกเหรียญหนึ่งที่ได้รับความนิยมรองลงมาจากเหรียญรูปไข่ปี พ.ศ. 2482
2 . “เหรียญพญานาค” ที่มีองค์ครูบาเจ้าศรีวิไชยประทับนั่งปางขัดสมาธิราบ บนฐานประทับเป็นตั่งขาสิงห์กลางเหรียญ ประดับลวดลาย เป็นพญานาคสองตัว ชูหัวขึ้นออกทางด้านข้างสองข้างโดยส่วนตัวและหาง ทำเป็นซุ้มประดับ ขึ้นไปด้านบน เหรียญรุ่นนี้สร้างโดยวัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
วัตถุมงคลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ลืมไม่ได้ก็คือ พระรูปเหมือนของครูบาเจ้าศรีวิไชยเนื้อดินผสมเถ้าอัฐิของท่าน ที่ครูบาทึม พระลูกวัดจามเทวี ผู้มีฝีมือในการปั้นพระเนื้อดินต่างๆ ท่านได้รวบรวมเก็บเถ้าอัฐิในบริเวณสถานที่ที่ทำการฌาปนกิจศพของท่านครูบาเอาไว้ และต่อมาได้ทำการสร้างพระรูปหมือนครูบาเนื้อดินเผาผสมเถ้าอัฐิครูบาเจ้าศรีวิไชย เรียกว่า”ครูบาหลังย่น” ออกมาแจกจ่ายผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวท่าน จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่ว ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ จนเป็นที่ต้องการและเสาะแสวงหากันมาจนทุกวันนี้ ในบริเวณที่ดินที่ใช้เป็นที่ฌาปนกิจศพของท่านครูบา ในบริเวณของวัดจามเทวีนั้น ต่อมา ทางคณะกรรมจังหวัดและทางวัดจามเทวีลำพูนได้สร้างเป็นสถูป “อนุสาวรีย์ครูบาเจ้าศรีวิไชย” บรรจุอัฐิธาตุของท่านไว้เพื่อให้บรรดาสาธุชนได้กราบไหว้สักการะบูชาตราบจนถึงทุกวันนี้ .
ต่อจากนี้ไปจะให้ท่านได้ชม เหรียญครูบาเจ้าศรีวิไชยที่หายาก เป็นเหรียญดังอันมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของนักสะสมในปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น